top of page

ข้อมูลด้านวัฒนธรรมรอยพระพุทธบาท

ประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธ พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

จากการศึกษาวิจัยวัดพระพุทธบาทบัวบก ได้สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นศาสนสถานและแหล่งอาศัยของคนโบราณมาก่อน สภาพพื้นที่รอบๆวัดพระพุทธบาทมีความแปลกประหลาดของโขดหินในรูปแบบต่างๆ เพิงหินนี้เกิดจากการกัดเซาะโดยน้ำและลมตามธรรมชาติ ซึ่งกัดกร่อนบนหินตะกอนที่มีความทนทานต่างกัน ชั้นหินตะกอนที่มีความทนทานต้ำถูกกัดเซาะเป็นส่วนเว้าอยู่ข้างในหรือเป็นโพรง ส่วนชั้นหินที่มีความคงทนสูงจะมีลักษณะเป็นเพิงเหมือนหลังค  ตามเพิงหินต่างๆมักพบร่องรอยว่าด้วยเคยถูกดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของคน  ภายในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาหลายอย่าง เช่น รอยพระพุทธบาท  เสมาหิน   และโบสถ์สมัยโบราณเหลืออยู่ เมื่อประมาณปีพุทธศักราช  2459 คณะสงฆ์และชาวบ้านได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์สร้างเป็นวันขึ้นอีก  โดยมีพระอาจารย์สีทัต  พระวิปัสสนากรรมฐาน เป็นผู้นำในการก่อสร้างและได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากชาวบ้านผู้เลื่อมใสในหมู่บ้านแถบนี้และจังหวัดใกล้เคียง

ประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทบัวบก

จากหนังสือสวดมนต์ งานฉลองสมโภชน์พุทธบาทบัวบก 100 ปี พ.ศ. 2556 ได้กล่าวว่า ประวัติพุทธบาทบัวบกมีในหนังสือตำนานพระเจ้าเหยียบโลกซึ่งเขียนบันทึกไว้เป็นภาษาลาว เกี่ยวกับการเสด็จไปโปรดสัตว์ในที่ต่างๆของพระพุทธองค์ เจ้าอธิการประสิทธิ์ พากุล อ้างถึงหนังสือเล่มนี้ว่า ในตอนปัจฉิมโพธิการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จออกประกาศธรรมที่ทรงตรัสรู้ตามสถานที่ต่างๆ ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เสด็จมาประทับที่ดอยนันทดังฮี ในแขวงหลวงพระบางประเทศลาว และได้ประทับรอยพระพุทธบาทตามสถานที่เสด็จผ่านหลาย แห่งเป็นต้นว่า ที่พระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือจังหวัดอุดรธานีที่พระบาทโพนเพ็ญ อำเภอโพนพิสัยจังหวัดหนองคาย ที่พระบาทเวินปลา บ้านสำราญอำเภอเมืองจังหวัดนครพนม แร่ที่พระบาทธาตุเชิงชุมจังหวัดสกลนคร เป็นต้น

ในระหว่างที่ประทับอยู่ดอยนันทดังฮี พระองค์ได้ทรงทราบว่า นาคในแถบนี้มีความดุร้ายและรบกวนมนุษย์ จึงตัดสินพระทัยเสด็จไปยังถ้ำหนองบัวบานและถ้ำบัวบก มันเป็นที่อยู่อาศัยของนาค 2 ตัวคือกุทโธปาปนาค และมิลินธนาค เมื่อเสด็จมายังถ้ำหนองบัวบาน กุทโธปาปนาค ได้แผลงฤทธิ์และพยายามทำร้ายพระพุทธองค์แต่ก็ไม่สามารถทำอันตรายพระองค์ได้ งานศิลปขายความดุร้ายและยอมจำนนต่อพระพุทธองค์ พระองค์ได้ประทานธรรมแก่หน้ามีใจความว่า ผู้ใดทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ เมื่อลาจากโลกนี้ย่อมมีความเศร้าโศกชื่อว่าความเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เพราะเห็นว่ากรรมอันเศร้าหมองของตนจึงเศร้าโศกและเดือดร้อน ถ้าผู้ใดงดทำบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปได้ เหมือนตัวเราตถาคต ถ้าผู้ใดมีศรัทธามีปัญญาตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม แม้จะอยู่คนเดียวย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธาได้  เมื่อได้ฟังหัวข้อธรรมที่พระองค์ได้เสด็จแล้ว  กุทโธปาปนาค ก็มีจิตใจเลื่อมใสแล้วย่อมเป็นศิษย์นับถือพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งที่ระลึก กุทโธปาปนาค หวนระลึกถึงน้องชายคือมิลินทนาค ซึ่งมีนิสัยพาลเกเรชอบรังแกมนุษย์และสัตว์ต่างๆจึงกราบขอให้พระพุทธองค์เสด็จไปโปรด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของ มิลินทนาค หน้าตัวนี้สำแดงเดชพยายามทำร้ายพระองค์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่สัมฤทธิ์ผล มิลินทนาค จึงปลอมแปลงกายเป็นคนเข้าไปกราบคารวะ เพื่อหวังให้พระพุทธองค์อภัยโทษให้ และเป็นที่พึ่งของตน พระพุทธองค์ได้พิจารณาอาการของมิลินทนาค เห็นว่ามีนิสัยพอที่จะรับฟังธรรมะได้ จึงได้แสดงธรรมเทศนาโปรด โดยมีใจความว่า บุคคลใดมั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้ เมื่อเราจากโลกนี้ย่อมดีใจในสวรรค์ จะอยู่ที่ใดบุคคลผู้นั้นย่อมมีใจอันเบิกบาน สำหรับเวทมนต์ ลาภและพวกพ้องจะนำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้ ส่วนพวกมีศีล เพ็งพินิจถึงคุณโทษของสิ่งชั่วร้ายเท่านั้น จะนำความสุขมาให้ เมื่อมิลินทนาค ได้ฟังสิ่งสำนึกถึงความผิดในอดีตของตน จึงหาหนทางแก้ไขและกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่พระพุทธองค์ไม่ยอมให้อุปสมบท เพราะทรงเห็นว่ามิลินทนาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นการผิดวินัยของพระองค์จึงเพียงแต่ประทานพระไตรสรณคมน์ให้ถือปฏิบัติ มิลินทนาคเมื่ออุปสมบทไม่ได้จึงกราบทูลขอรอยพระพุทธบาทไว้เพื่อจะได้กราบไหว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ประทานรอยพระบาทไว้ที่ไหลเขาภูพาน ณ บริเวณใกล้ปากถ้ำของพญานาคมิลินทนาค และทรงตรัสว่า เจ้าอย่าขึ้นมารบกวนมนุษย์และสัตว์ให้ได้รับอันตรายเลยจงอยู่ในพื้นบาดาลนั่นคือดาบใหญ่ในระยะขวบปีหรือ 7 วันถ้าได้ยินเสียงของฆ้อง กลอง ขอให้เข้าใจว่าศาสนาของเราตถาคตยังอยู่ แต่ถ้าชั่วระยะ 7 วันไม่ได้ยินเสียงของกลองขอให้เข้าใจว่าศาสนาของตถาคตสิ้นไปแล้ว และเจ้าจงขึ้นมาบนโลกเพื่อรักษาศาสนาสมบัติของเราไม่ให้เป็นอันตรายเถิด เราตถาคตได้กำหนดอายุของพระพุทธศาสนาไว้ 5000 พระวัสสา ฉะนั้นไปศาสนาของเราก็เสื่อมไป หลังจากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุก็บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือตามไหล่เขาภูพานมุ่งหน้าตรงไปยังสูงมัธยมประเทศกลับไปยังเชตวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระองค์

          ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำนมัสการถึงมิลินทนาค ผู้ขอประทานรอยพระพุทธบาท สำหรับผู้ที่มาทำบุญที่วัดพุทธบาทบัวบก ดังนี้

“มิลิน มีดังนี้ มิลินทนาค ธนาะราชา ธนาภเขียน ยาจิโต โคตะมะ พุทธะเสฏฐัง ปาปะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                           ภาพรอบพระพุทธบาทบัวบกซึ่งได้ครอบรอยเดิมไว้

 

 

 

                          ภาพพระอาจารย์สีทัต ญาณสัมปัญโน  พระวิปัสสนากรรมฐาน เป็นผู้นำในการก่อสร้างพระพุทธบาทบัวบก

 

 

                     

                                                                              “ถ้ำพญานาคมิลินทนาค”

          ใกล้กับรอยพระพุทธบาทบัวบก ปัจจุบันยังมีเพิงหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ มีหินสองก้อนตั้งซ้อนกันโดนธรรมชาติ ก้อนบนเป็นหลังคากันแดดและฝนได้ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาสักการะถ้ำของมิลินทนาค ทางคณะกรรมการวัดได้จัดการไว้ให้บริการและร่วมปัจจัยตามกำลังศรัทธา โดยมีจุดบริการดอกไม้ ธูปเทียน เพื่อทำการน้อมสักการะขอพรพญานาค  จากนั้นเครื่องสักการะนำไปวาง ณ ที่จัดไว้ให้ แล้วนั่งลงตามตำแหน่งใกล้ที่บูชา จากนั้นยกพานธูปเทียนดอกไม้อธิษฐานขอพรตามกำลังศรัทธา  

ถัดจากถ้ําพญานาค เมื่อเดินเข้าไปภายในบริเวณวัดจะเห็นโขดหินวางเรียงซ้อนกันรอบรอบบริเวณวัด มีป้ายบอกทางเดินไปยังบ่อน้ำทิพย์  เมื่อเดินไปยังบ่อน้ำทิพย์จะเห็นรอบรอบบริเวณเต็มไปด้วยป่าไม้และขนหินที่วางสลับซับซ้อน หลังจากออกมาแล้วผู้วิจัยได้เดินไปที่บริเวณด้านหลังของถ้ำมิลินทนาค จะพบห้องน้ำเก่าแก่ซึ่งอยู่ในป่ารกทึบ ทางทีมผู้วิจัยจึงได้ทำความสะอาดบริเวณรอบรอบป่ารกทึบนั้น และได้ทำความสะอาดห้องน้ำ ซึ่งพบว่ามีการชำรุดทรุดโทรมอยู่หลายห้องซึ่งเข้าใจว่าห้องน้ำนี้ไม่ได้ใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว  นักท่องเที่ยวจะเดินมาบริเวณนี้อาจจะมีความอันตรายเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีต้นไม้เจริญเติบโตบดบังทางเข้าอาจมีสัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ กิ้งกือ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้อาจทำร้ายเอาเป็นได้ จึงไม้ควรเดินมาด้านหลังที่มีป่ารกทึบบริเวณนี้

แต่หากนักท่องเที่ยวมีมาเป็นกลุ่ม คณะ หรือนักศึกษา หากมีความประสงค์ที่จะมาบำเพ็ญประโยชน์บริเวณรอบๆวัดนี้ เช่น ทำความสะอาด ถางหญ้า ล้างห้องน้ำ สามารถติดต่อกับคณะกรรมการวัด หรือเจ้าอาวาสวัด พระครูพุทธบทบริรักษ์ ใหม่วงษ์ ให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงจะสามารถดำเนินกิจกรรมได้ 

ลักษณะทางกายภาพ

         จากข้อมูลของวัดพระพุทธบาทบัวบกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของโบราณสถานแห่งนี้ ที่มีประวัติอันยาวนาน อันทรงคุณค่าแก่การเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรม สำหรับจังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้หน่วยงานกระทรวงวัฒนธรรม และทางภาครัฐได้ให้ความสำคัญและเสนอ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในปัจจุบัน ซึ่งภายในอุทยานฯ ได้ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง บริเวณโดยรอบพระพุทธบาทบัวบกแสดงถึงอารยธรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวอุดรธานี บริเวณภายนอกองค์เจดีย์พระพุทธบาทบัวบกนั้นแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ มีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆกัน

 

 

bottom of page