top of page

ประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทเวิ่นกุ่ม อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

                     หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ท่านเขียนไว้ในหนังสือประวัติวัดพระพุทธบาทคอแก้ง (พิมพ์ครั้งที่2 วันที่ 1 มีนาคม 2553) ได้อธิบายไว้ดังนี้

วัดพระพุทธบาทเวิ่นกุ่ม  วัดนี้ไม่ทราบประวัติความเป็นมาอย่างไรใครเป็นผู้สร้างไม่มีใครรู้เลย เกิดมาก็มีคนเห็นไปวายสักการะบูชาอยู่อย่างนั้น เมื่อสมัยก่อนออกพรรษาแล้วคนแถวริมแม่น้ำโขง เช่น ชาวเวียงจันทน์ ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ หนองคาย ตลอดจนถึงโพนพิสัย พากันผ่านปราสาทผึ้งลงเรือยาว หนุ่มสาวผู้เฒ่าผู้แก่ต่างแห่กันมาทอดที่นี่ปีหนึ่งปีๆ ได้ขี้ผึ้งเป็นอันมาก จะถามคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่มีผู้พอจะรู้เรื่องได้ เพราะคนแถวนี้สมัยก่อนไร้การศึกษามาก ที่จะเอาตัวรอดอยู่ก็แย่อยู่แล้ว มีหนังสือใบลานคือหนังสืออุรังคธาตุ กล่าวถึงพระธาตุพนมและพระพุทธบาทในบริเวณแถวนี้ พร้อมทั้งพระพุทธบาทคอแก้งแห่งนี้ด้วย ล้วนแต่มีพญานาคมีชื่อต่างๆกันมาขอรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อให้คนได้มาสักการะบูชาทั้งนั้น เช่น ที่พระพุทธบาทคอแก้งแห่งนี้ มีพญานาคชื่อว่า “สุวรรณนาคราช” เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                     ภาพหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ผู้เขียนหนังสือวัดพระพุทธบาทบัวบก

 

               เมื่อปี พ.ศ. 2459 หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นเด็กวัด อายุราว 12 ขวบ มีพระท่านพามาไหว้พระพุทธบาทคอแก้งแห่งนี้ ได้เห็นพระอาจารย์บุญ ท่านพาลูกวัดแปดองค์มาพักอยู่หน้าที่นี่และก็ได้พบ พ่อเฒ่าหลวงแก้ว ซึ่งเป็นคนนครเวียงจันทน์ ท่านได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้หลังหนึ่งเล็กๆ ขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร มีเฉลียงรอบในราว 2 เมตร ทำกำแพงรอบใหม่ สมัยนั้นเสียเงินไปประมาณ 80 บาท คนพากันเรื่องลือ ว่าท่านมีศรัทธามาก นุ่งผ้าขาว มาปฎิบัติธรรมด้วยความเลื่อมใสมาก

               

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้อธิบายว่า“คอแก้ง” หมายถึง คอคอดของแม่น้ำโขงนับว่าบริเวณนี้แคบที่สุด มีหินดาดยื่นออกไปทั้งสองข้างฝั่งในฤดูแล้งน้ำแห้งแล้วถึงอยู่คนละฝากฝั่งนั่งบนก้อนหินตะโกนคุยกันได้ยินสบายเขาจึงเรียกบริเวณนี้ว่าแก่งหรือแก้ง นั่นเอง  เมื่อแม่น้ำโขงที่ไหลไปจากคอแก้งแล้วไปกระทบก้อนหินท้ายน้ำ ที่วางระเกะระกะอยู่ แล้วไหลกลับคืนมาเป็นบริเวณกว้างนั้นเรียกว่า เวิน  เครื่องหมายถึงน้ำไหลบนนั้นเอง แล้วแต่แสน้ำนั้นก็ไหลไปตามลำน้ำโขงตามเดิม ประกอบในสมัยก่อนบริเวณนั้นมีต้นกุ่มน้ำขึ้นเต็มไปหมด เป็นปากกุ่มน้ำที่ก็ว่าได้ เอาจึงรวมเรียกว่า “เวินกุ่ม”

วัดพระพุทธบาทคอแก้ง หรือพระพุทธบาทเวินกุ่ม  พุทธบาทคอแก้ง มีของแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ ใกล้ๆกับรอยพระพุทธบาทนั้นมีหลุมหินลึก 4 เมตร กว้าง 5 เมตร เป็นหลุมกลมเกลี้ยง คล้ายกับคนเอาน้ำไปเทแล้วกระฉอก เป็นรอยอย่างนั้นแหละ คนสมัยก่อนเขาถือกันว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเสวยภัตตาหารในที่นี้ แล้วเอาน้ำล้างบาตรเทลงไปจึงเป็นหลุม เวลานี้เขาหล่อปูนซีเมนต์กันปากหลุมไว้ อีกหลุมหนึ่งกว้าง 2.5 เมตรลึก 3 เมตรอยู่ใกล้ๆกันกับหลุมใหญ่นั้น

 

          นอกจากนั้นยังมีรูเหมือนกับรอยหางงู  มีลักษณะกลมรีขายเม็ดแตงโม  1 เมตร ลึก 4 เมตร รูนี้เขาเชื่อกันว่าเป็นรูพญานาคผุดขึ้นมาจากแม่น้ำโขง มาขอรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้ท่านจึงมีคำไหว้พระพุทธบาทไว้ว่า

 

“มหาสุวรรณะนาคะราชา พุทธะรังสี หิทิสสะวา

นะทีตีเร นิกขะมิตตะวา ยาจิโต โคตมะพุทธะเสฏฐัง

ติฏฐะบัลลัง เอกะปาทัง เอกะปาทะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา”

(ว่าสามจบ)

พุทธบาทคอแก้งนี้ เมื่อก่อน พ. ศ. 2480  เป็นที่วิเวกมาก สัตว์สาราสิงยังมีมาก โดยเฉพาะกระต่ายมีมากที่สุด พระกรรมฐานชอบมาวิเวกพักอยู่นานๆ แม้แต่หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ก็เคยมาพักแต่ไม่ได้อยู่จำพรรษา ผู้เขียน(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เคยมาพักอยู่หลายวันเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน คืนวันหนึ่งในราวตีหนึ่งเห็นจะได้ ได้ยินเสียงอะไรดัง จุ้งจิ้งๆๆ ในบ่หิน ข้างรอยพระพุทธบาท คิดว่าจะเป็นพญานาคขึ้นมาเล่นน้ำในบ่อที่เขาว่ากันกระมัง ลุกขึ้นได้ไปดูเห็นอะไรขาวแบบแวบๆวาบๆอยู่ในบ่อ นึกอยากจะดูให้รู้แน่ว่ามันเป็นอะไร จึงฉายไฟลงไปดูเลยเงียบหายไปเสีย ที่ทำให้สงสัยใหญ่ จึงไปปลุกพระเณรมาช่วยกันเอาไม้คุ้ยเขี่ยดูก็ไม่เห็นมีอะไร จนรุ่งเช้าขึ้นไปดูอีกที เห็นปูลอยขึ้นมาจึงรู้ความจริงว่า อ้อ ไอ้เจ้ากระต่ายขี้ดื้อตัวนี้นี่เอง ที่มันวิ่งเล่นสนุกเมื่อคืนที่แล้ว มันสนุกมากไปเลยตกบ่อตาย ดีเหมือนกันจะได้สอนให้ลูกหลานเจ้ากระต่ายมันรู้ไว้ว่า ที่นี่ไม่ใช่จะมาเที่ยวเล่นสนุกจะได้เข็ดหลาบ สมัยนั้นกระต่ายยังมีมาก มันหากินกันจนเพลินพระออกบิณฑบาตรแล้วมันยังไม่เข้าไปนอนกันเลย

          ต่อจากนั้น เมื่อพระอาจารย์บุญ จากไปแล้ว ก็ไม่ทราบว่ามีผู้ใดมาอยู่ต่อ เพราะผู้เขียน ก็หนีจากบ้านไปในราว 8 ปี จึงได้กลับมาไหว้พระพุทธบาทแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง ขณะนั้นพระอาจารย์คำ ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ของผู้เขียนแต่เมื่อครั้งผู้เขียนเป็นเด็ก คนแถวนี้รู้จักท่านดี ท่านได้มาพักประจำอยู่ที่นี่และเทศนาอบรมผู้คน ทั้งชาวเวียงจันทน์และฝั่งไทยมีความนับถือเลื่อมใสท่านมาก ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) กลับมาคราวนั้นวิหารของพ่อเฒ่าหลวงแก้วยังอยู่ แต่คร่ำคร่าเต็มทีแล้ว

          เมื่อพระอาจารย์คำนี้ไปแล้ว “หลวงตาหล้า”ท่านเป็นคนอพยพมาจากฝั่งลาวมาสร้างหลักฐานอยู่ที่บ้านห้วยหัดนี้เอง ท่านมีครอบครัวแล้วแต่ภรรยามาตายจากเสีย ท่านมีศรัทธาจึงออกบวชเป็นพระ แล้วมาอยู่ที่นี่ต่อจากพระอาจารย์คำ แต่อยู่ไม่นานท่านก็หนีไป (เรื่องของท่านองค์นี้จะได้นำมาพูดต่อตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้)

          จากนั้นมาก็มีเถรองค์หนึ่งมาอยู่ต่อ  เถรองค์นี้เป็นคนเมืองน่าน ชื่อเถรพรหมเทพ (เณรบวชเมื่อแก่เรียกเถระ) เถรองค์นี้อยู่นานหน่อยแต่ก็ไม่มีอิทธิพลอะไร อยู่รักษาวัดไปเฉยเฉยๆ หล้าหนีไปแล้วท่านทิ้งเอาไว้ไม่ได้เอาไปด้วย เครื่องรางของขลังเหล่านั้น มีรูปพระอุปคุต หอยสังข์ ตะกรุด และของเล็กๆน้อยๆอีก 2 3 อย่าง มีแปลกตรงที่หอยสังข์เมื่อเขย่าดูข้างในจะมีเสียงดังกริ๊งๆ พวกนั้นพากันอยากรู้ว่าอะไรแน่ที่อยู่ข้างในจึงเอาค้อนทุบดู แต่แล้วก็ไม่เห็นมีอะไร ต่อแต่นั้นก็เลยพากันเกิดจิตวิปริตเป็นบ้าไปต่างๆ ต่างคนก็พากันเที่ยวไปในที่ต่างๆ บ่นไปพลางเอาไม้ทุบตีไป ส่วนเถรพรหมเทพ เมื่อได้บาตรแล้ว เที่ยวบิณฑบาตตามโคนต้นไม้และก้อนหิน ผลที่สุดก็ตายด้วยกันทั้งสามคน ต่อจากนั้นมา วัดพระพุทธบาทก็ว่างเปล่าไม่มีใครดูแลรักษาเป็นเวลานาน ถึงมีพระมาอยู่บ้างก็มีแต่หาผลประโยชน์ส่วนตัวทำให้ขาดการเลื่อมใสของชาวบ้าน

          ดังนั้นชาวบ้านพร้อมด้วย นายชัย เกตุผึ้ง ผู้ใหญ่บ้าน จึงได้พิจารณาเห็นว่า วัดพระพุทธบาทแห่งนี้ ถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปเห็นจะไม่ได้การ จึงพร้อมใจกันไปขอพระจากเจ้าคณะจังหวัด ให้มาอยู่รักษาวัดพระพุทธบาท แล้วได้เล่าเรื่องสภาพของวัดและพระที่มาอยู่อย่างไม่เป็นหลักฐานทำให้เสื่อมศรัทธาของชาวบ้าน เจ้าคณะจังหวัดจึงได้ประชุมเจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสในเขตอำเภอศรีเชียงใหม่เพื่อหารือ ในที่สุดก็มีมติเห็นพร้อมกันให้ พระครูสถิตคณารักษ์ (ไพโรจน์) เจ้าคณะอำเภอศรีเชียงใหม่ในขณะนั้นมาอยู่รักษาต่อไป

          พระครูสถิตคณารักษ์ อยู่ที่นี่ในราวปีพ.ศ. 2509  และได้บูรณะวัดค่อยเจริญขึ้นมาหน่อย ผู้เขียน (หลวงปู่เทศน์ เทศน์รังสี ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย) กับพระครูสถิตคณารักษ์ คุ้นเคยกันมาแต่ก่อนแล้ว เมื่อท่านมาอยู่วัดพระพุทธบาทที่ใกล้กัน ผู้เขียนจึงคิดจะสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท เรียกช่างมาคำนวณแล้วให้ลงมือทำเลย ทำไปยังไม่ทันสำเร็จได้เพียงแค่เทเสา 4 ต้นและเทเพดานเท่านั้น พระครูสถิตคณารักษ์เลยมามรณภาพเสีย  หมดเงินไป 20,000 บาทถ้วน จากนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องมัวแต่สร้างวัดหินหมากเป้ง

          เมื่อ พ. ศ. 2516 พระอาจารย์สมบูรณ์ คนอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ได้มาบูรณะต่อ สร้างขึ้นเป็นรูปร่างแต่ยังไม่สมบูรณ์สร้างอยู่ 7 ปีก็มาถึงแก่มรณภาพไปเสียอีก

          ต่อมาพระปิยะพงศ์ อารุณโณ บ้านเดิมอยู่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี แต่มาบวชอยู่ ณ วัดกลาง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย อุปัชฌาย์ชื่อ พระครูวิจิตรนวการ ท่านผ่านการศึกษาและการทำงานเมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสมาแล้วอย่างดี ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทแห่งนี้เมื่อพ. ศ. 2527 ได้ 4 พรรษาแล้ว ท่านเป็นนักพัฒนาจริงๆคิดจะพัฒนาวัดพระพุทธบาทแห่งนี้ให้เจริญ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คนรุ่นหลัง และเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาสืบไป

          ท่านริเริ่มสร้างกำแพงหน้าวัดโดยไม่มีเงินสักสตางค์เดียว ขอยืมอีกยืมปูนเขามาทำ คนเห็นเกิดศรัทธาช่วยออกให้ เริ่มสร้างมณฑปครอบพระพุทธบาท ทำซุ้มประตู หน้าต่าง ราคาน้ำเป็นแสนๆบาทจนกระทั่งทำเสร็จเรียบร้อย ท่านตั้งใจทำจริงๆบอกว่าผมขอเอาชีวิตแลกจะเสร็จหรือไม่ก็ตาม ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เห็นแล้วน่าเลื่อมใสจริงๆ พระชนิดนี้หายาก เพราะท่านตั้งใจทำงานด้วยความศรัทธา จนทำให้ท่านสามารถทำงานหลายอย่างสำเร็จลงด้วยดีตลอดมา

          ริเริ่มสร้างศาลาการเปรียญหลังใหญ่ กว้างXยาว ขนาด 20 X 40 เมตร หล่อเสาขนาดเพียง
20 cm ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เห็นแล้วอดสงสารไม่ได้  จึงเรียกท่านมาพูดว่าผมจะทำถวาย ขอแต่ให้บอกความประสงค์ว่าจะทำอย่างไร ครั้งแรกฉันก็ยังไม่ยอมคิดแต่จะสร้างอย่างเดียวจึงได้อธิบายเหตุผล ตลอดถึงถาวรวัตถุอันนี้มันต้องมีอายุยาวนาน ในอนาคตข้างหน้าบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ผู้คนมากเข้า สภาพของเหล่านี้มันต้องเปลี่ยนแปลงไป เราต้องทำเพื่ออนาคตไว้บ้างท่านจึงยอม เมื่อตกลงกันแล้วได้ให้ท่านไปติดต่อกับผู้หลักผู้ใหญ่ มีเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะจังหวัด เป็นต้น ท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็ให้ความเมตตาโดยดี ผู้เขียน(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) จึงให้ช่างผู้รับเหมาปักผังลงมือก่อสร้างดังนี้คือ 

ศาลาการเปรียญ ขนาดกว้าง 18 เมตร  เมตร ยาว  28 เมตร ทรงแบบไทยโบราณ หลังคาสองชั้น หมูด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนีย โครงสร้างทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ เป็นปูนปั้น รอบศาลาติดตั้งคันทวยรูปปั้นลับใช้ทาที่หัวเสาทุกต้น  ตีฝ้าเพดานด้วยกระเบื้องแผ่นเรียบทั้งหมด ลักษณะเป็นห้องโถงตลอดมีลูกกรงโดยรอบ ทางด้านทิศตะวันตกด้านฝาผนัง ทำยกพื้นเป็นอาสนะสงฆ์สูงราว 20 เซนติเมตรยื่นออกมา 2 ห้อง บนอาสน์สงฆ์ด้านติดฝาผนังทำเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปและแท่นบูชาด้านหลัง ผนังกั้นเป็นห้องพักสำหรับพระที่จะมาอยู่รักษาศาลา นานาสาระทำบันไดใหญ่กว้าง 5 เมตร ส่วนด้านหลังทำบันไดขึ้นทางทิศเหนือด้านเดียว กว้าง 2.25 เมตร  ส่วนชานพักบันไดทั้ง กว้าง 4 เมตร  ยาว 10 เมตร ผูกเหล็กเทคอนกรีตพื้นศาลาทั้งหมดตลอดจนชานพักบันไดลงหินขัด ชั้นบันไดทั้งสองข้างทำด้วยหินกรวดล้างทั้งหมดใต้ถุนศาลาสูง 2.25 เมตร ใต้บันไดด้านทิศตะวันตกก่ออิฐฉาบปูน กั้นห้องสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของพระเณรได้  ด้านทิศตะวันออกก็กั้นห้องเช่นเดียวกัน แต่ทำเป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ เพดานชั้นล่างฉาบปูน ตลอดทั้งหมดแต่ไม่ตีฝ้าเพดาน พื้นถูกเหล็กเทคอนกรีตขัดมันตลอด แดนซ์ฮิตๆทำลูกกรง เว้นช่องที่ทำบันไดขึ้นลง 2 ช่อง ค่าก่อสร้างตามสัญญาครั้งแรกเป็นเงิน  2,838,000 บาท ต่อมาได้ทำสัญญาก่อสร้างเพิ่มเติมอีกเป็นเงิน 180,000 บาท  บาท รวมราคาค่าก่อสร้างทั้งสิ้น เป็นเงิน  3,018,000 บาท โดยทำสัญญาก่อสร้างกับ หจก.แก้วหินก่อสร้าง โดยนายกองศรี แก้วหิน กำหนดแล้วเสร็จภายใน 309 วัน ทั้งนี้ไม่รวมเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายล่อฟ้า ซึ่งผู้ว่าจ้างต้องจัดหามาเองแต่ผู้รับเหมาเป็นผู้ติดตั้งให้

 

          ต่อมาได้ทำสัญญาก่อสร้างวิหารพุทธไสยาสน์ เป็นอาคารโถง ตัวอาคารกว้าง 5 เมตร
ยาว 10.5 เมตร สูง 4.10 เมตร โครงสร้างตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาทำด้วยไม้หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนีย หน้าบัน ปั้นลม และหางหงส์ทำเป็นลวดลายปูนปั้น พร้อมด้วยทำฐานพระพุทธรูปขนาดกว้าง 2.7 เมตร ยาว 9.3 เมตร  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ดันมาก่ออิฐปั้นปูนเอวขัณฑ์ ทำสัญญาก่อสร้างในราคา 350,000 บาทถ้วน โดยผู้รับเหมารายเดียวกับศาลาการเปรียญ

พระพุทธรูปปูนปั้นปางพระพุทธไสยาสน์ โครงสร้างองค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งแต่ยอดพระเกศจรดปลายพระบาท  ยาว 9 เมตร เสื้อออกแบบโดยอาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี ทำสัญญาก่อสร้างกับ นายเอี่ยม อมรสถิตย์ ในราคา 140,000 บาทถ้วน รวมราคาวิหารและพระพุทธไสยาสน์เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  490,000 บาท

          สำหรับพระประธานที่ประดิษฐานอยู่เหนือแท่นพระบนศาลาการเปรียญทั้ง 3 องค์นั้น องค์ใหญ่หน้าตักกว้าง 48 นิ้ว มูลค่า 80,000 บาทถ้วน องค์ลองทั้งสองข้างขนาดหน้าตักกว้างองค์ละ 36 นิ้ว มูลค่าองค์ละ 65000 บาทถ้วน รวมทั้ง 3 องค์คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น  210,000 บาท โดยมี คุณธเนศ เอี่ยมสกุลเป็นผู้มีจิตศรัทธาสร้างถวายไว้ในบวรพุทธศาสนา

ศาลาการเปรียญและวิหารพระพุทธไสยาสน์ ที่สร้างสำเร็จสวยงามเป็นสง่าดังที่ท่านทั้งหลายได้เห็นอยู่นี้  ได้รับความเอื้อเฟื้อในด้านการออกแบบจาก คุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว แห่งบริษัทดีไซน์ 103 จำกัด ทั้งยังกรุณาช่วยเหลือรับภาระ เกี่ยวกับแบบแปลนทั้งหมด โดยไม่ได้คิดมูลค่าแต่อย่างใดทั้งสิ้น ควบคุมการก่อสร้างโดย นายพัฒน์ จาโทรก  นอกจากนี้ ยังมีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างศาลาการเปรียญวิหารและพระพุทธไสยาสน์ด้วย รวมเป็นจำนวนเงิน  74,100 บาทถ้วน
จึงขอขอบคุณและอนุโมทนากับท่านทั้งหลายที่ได้กล่าวมาทั้งหมดมาณโอกาสนี้ด้วย

ภาพวัดพระพุทธบาทเวิ่นกุ่ม อ.สังคม จ.หนองคาย

10934043_1225981400749647_83207598337672537_n
10351093_1225980654083055_5594396677913761341_n
12803157_1225981464082974_3123586472432914160_n
12814644_1225980437416410_1054871884407646511_n
12813965_1225980514083069_4695827833218161651_n
12718144_1225980480749739_5953294816356817342_n
12801267_1225980527416401_7226920873752784651_n
12795383_1225981524082968_7058893358694147493_n
12802799_1225980340749753_7562842105871086269_n
12794486_1225981574082963_2155406392901999799_n
12718309_1225980597416394_39997257073626526_n
12799447_1225981470749640_4761573094214870532_n
12795454_1226095797404874_3378892684247751321_n
12814759_1225981510749636_7721813566350719288_n
12814445_1225981664082954_6596697558515855508_n
12803157_1225980617416392_8164020382332848638_n

Infographic เส้นทางวัดพระพุทธบาทเวิ่นกุ่ม อ.สังคม จ.หนองคาย 

Google Map เส้นทางท่องเที่ยว วัดพระพุทธบาทเวิ่นกุ่ม อ.สังคม จ.หนองคาย

bottom of page