พระอริยสงฆ์กล่าวถึงวัดพระพุทธบาท
หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ท่านได้กล่าวถึงวัดพระพุทธบาทบัวบก ในสมัยที่ท่านำได้ออกเดินทางปฏิบัติธรรม โดยจากการอ้างอิงจากหนังสือพุทธประวัติของของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหารจาก จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งท่านได้กล่าวถึงวัดพระพุทธบาทบัวบก ดังนี้
ภาพ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี มุกดาหารจาก
ที่มา : www.dhammasavana.or.th
หลวงปู่จาม ท่านได้กล่าวถึงวัดพระพุทธบาทบัวบกว่า เมื่อปี พ.ศ. 2482 อุปสมบทเมื่ออายุได้ 29 เต็มปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2482 ที่วัดโพธิสมภรณ์
อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อบวชเสร็จ พระจาม มหาปุญโญ ได้ออกธุดงค์ไปองค์เดียวไปภาวนาที่พระบาทคอแก้ง อยู่บริเวณ วัดพุทธบาท ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ขณะภาวนาเกิดนิมิตเห็นพญานาคขึ้นมาแล้วบอกว่าที่นี่เป็นพระพุทธบาทจริง พวกตนได้ขอไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จ ผ่านมา ต่อมา พระจาม ได้ภาวนาอยู่ถ้ำพระ อ.บ้านผือ แล้วย้ายไปภาวนาที่หออุษา และย้ายไปภาวนาที่ถ้ำบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งไม่ไกลกันนัก ที่ถ้ำพระพุทธบาทบัวบกนี้ พระจามได้ตั้งใจปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวก จนได้รู้ว่า เจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์ หลวงปู่บุญ ปญฺญาวุโธ อัฐิได้กลายเป็นพระธาตุแล้ว ซึ่งท่านได้เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ซึ่งพระจามไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย ขณะภาวนาอยู่ได้เกิดแสงสว่างเป็นลำพุ่งลงมาจากท้องฟ้า สว่างเฉพาะบริเวณเจดีย์ พอรุ่งเช้าขึ้นจึงไปค้นดู ปรากฏหลักฐานที่สลักไว้ที่ฐานเจดีย์เท่านั้น จึงทราบความจริงดังกล่าวหลังจากนั้น พระจาม จึงได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองน่อง บ้านห้วยทราย คำชะอี เป็นพรรษาที่ 1
หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ท่านได้กล่าวอีกว่า“ไปภาวนาอยู่ถ้ำพระพุทธบาทบัวบก บ้านติ้ว อำเภอบ้านผือ ไปถึงเราก็เข้ากราบไหว้พระบาท อธิษฐานจิตจะปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์เจ้า พอวันที่ 3 กำลังสวดมนต์ไหว้พระอยู่ มีลำแสงสว่างออกสีชมพูแดงสาดเป็นลำเป็นสายลงมาแต่ท้องฟ้า เราก็หลับตาไหว้พระสวดมนต์อยู่พระลานหิน พุ่งตรงลงเจดีย์องค์หนึ่งที่เขาก่อเอาไว้บนก้อนหินลำแสงนั้นตั้งสว่างอยู่นาน จนเราสวดมนต์จบ ก็นึกในใจว่า เออ.... พรุ่งนี้จะขึ้นไปดู” วันรุ่งขึ้นลงไปบิณฑบาตมาฉัน ฉันจังหันแล้วก็ไปเดินรอบๆ เห็นบันไดทางขึ้นแต่มีหญ้ารกรุงรัง ก็ไปดูเสาะดูฐานโดยรอบ พิจารณาอยู่จึงไปเห็นป้ายเขาเขียนบอกไว้ว่า ธาตุสาวกบรรจุอัฐิของท่านอาจารย์บุญ (ปญฺญาวุโธ) พระปัญญาวุโธ(บุญ) อายุ 44 พรรษา 25 ถึงแต่มรณภาพ พระอาภัสสโร(ขัน) พร้อมภิกษุ สามเณร และอุบาสกอุบาสิกา ทั้งหลายได้พากันสร้างธาตุบรรจุอัฐิของท่านไว้ ณ ที่นี้ ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกา ได้ออกทรัพย์รวมเป็นเงิน 325 บาท 21 สตางค์ นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์อยู่มากเพราะเราเองก็ไม่รู้มาก่อน รู้แต่ว่าครูอาจารย์บุญ องค์นี้มีอยู่จริง เคยอยู่แถบถิ่นแถวนี้มาก่อน เจดีย์เขาก่อด้วยปูน คล้ายๆ กับเจดีย์ที่ครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ก่อนไปบวชก็ได้ยินกิตติศัพท์ของเพิ่นอยู่”
จากหนังสือธรรมะประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตอนที่ 25 ได้กล่าวว่า ท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ วัดพระบาทบัวบก แถวๆ รอยพระพุทธบาทบัวบก ไปเสาะหาภาวนาอยู่แถวนั้นก็หลายที่หอนางอุษา ถ้ำพ่อตา ถ้ำลูกเขย ก้อนหินแถวนั้น การภาวนาก็ดีแต่ก็มีผู้คนขึ้นไปเที่ยวเล่นรบกวนอยู่ แต่นานๆ มีเสีย 4 คน 5 คน แต่อยู่แถวนั้นเป็นภูเขา ก้อนหินมะลึ้งคึ้งคั้ง พวกนาคอยู่หลายกว่าเทวดา เพราะพวกนาคเขาถือรอยพระบาทมากกว่า พวกเทวดามากราบไหว้พระอัฐิธาตุของครูอาจารย์บุญ (ปญฺญาวุโธ) ก็เยอะหลายเหมือนกัน เพิ่นท่านครูอาจารย์บุญ (ปญฺญาวุโธ) เพิ่นเป็นอาจารย์ของเพิ่นครูอาจารย์หลุย จันทสาโร เรามารู้ภายหลังว่า ครูอาจารย์บุญ (ปญฺญาวุโธ) ก็วนเวียนอยู่รอบป่าเขา เจริญภาวนาอยู่แถบถิ่นนี้ เห็นท่าจะมาโปรดพวกพญานาค พวกเทวดา หมู่ที่อยู่ในแถบถิ่นนี้ก็ได้“รอยพระบาทบัวบก - บัวบาน น่าจะเป็นรอยที่ผู้คนในยุคสมัยหลังๆมา เจาะสกัดหินแล้วเคารพบูชากันเรื่อยมา มายุคสุดท้ายนี้หลวงปู่สีทัด สุวรรณมาโจ มาสร้างเจดีย์ครอบรักษาไว้ แล้วสุดท้ายทางการเข้ามารักษาดูแล””
หลวงปู่จาม เล่าถึงการไปภาวนาอยู่ถ้ำพระพุทธบาทบัวบก บ้านติ้ว อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ท่านกล่าวว่า “ไปถึงเราก็เข้ากราบไหว้พระบาท อธิษฐานจิตจะปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์เจ้าพอวันที่ 3 กำลังสวดมนต์ไหว้พระอยู่ มีลำแสงสว่างออกสีชมพูแดงสาดเป็นลำเป็นสายลงมาแต่ท้องฟ้า เราก็หลับตาไหว้พระสวดมนต์อยู่พระลานหิน พุ่งตรงลงเจดีย์องค์หนึ่งที่เขาก่อเอาไว้บนก้อนหินลำแสงนั้นตั้งสว่างอยู่นาน จนเราสวดมนต์จบ ก็นึกในใจว่า เออ.... พรุ่งนี้จะขึ้นไปดู” วันรุ่งขึ้นลงไปบิณฑบาตมาฉัน ฉันจังหันแล้วก็ไปเดินรอบๆ เห็นบันไดทางขึ้นแต่มีหญ้ารกรุงรัง ก็ไปดูเสาะดูฐานโดยรอบ พิจารณาอยู่จึงไปเห็นป้ายเขาเขียนบอกไว้ว่า ธาตุสาวกบรรจุอัฐิของท่านอาจารย์บุญ (ปญฺญาวุโธ) นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์อยู่มากเพราะเราเองก็ไม่รู้มาก่อน รู้แต่ว่าครูอาจารย์บุญ (ปญฺญาวุโธ) องค์นี้มีอยู่จริง เคยอยู่แถบถิ่นแถวนี้มาก่อน เจดีย์เขาก่อด้วยปูน คล้ายๆ กับเจดีย์ที่ครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ก่อนไปบวชก็ได้ยินกิตติศัพท์ของเพิ่นอยู่”
สำหรับประวัติของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ท่านเป็นพระที่อารมณ์ดี มีเมตตาสูง ปฏิบัติตามกฎระเบียบ วินัยพระ อย่างเคร่งครัด แม้ว่าสุขภาพไม่ดี ท่านก็ยังออกบิณฑบาตทุกเช้า ไม่เบื่อหน่ายในความเพียร จึงทำให้มีศิษยานุศิษย์ ทั่วประเทศ พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาฟังพระเทศนาของหลวงปู่จามอยู่มิได้ขาด วันหนึ่งๆ มีญาติโยมมาเป็นจำนวนมากแต่หลวงปู่จาม ก็ไม่เคยบ่นมีแต่ความพึงพอใจ ที่ได้เทศนาสั่งสอนด้วยใบหน้ายิ้มละไมอยู่เป็นนิจ ครั้งหนึ่ง ท่านเคยกล่าวว่า “คนเราเมื่อประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม อยู่ในความไม่ประมาท หมั่นบำเพ็ญบุญ สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน แล้วก็ไม่ต้องวิ่งไปหาพระที่ไหนชีวิตก็เป็นสุข” ซึ่งหลวงปู่ ได้สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัด แก่พุทธศาสนิกชน ทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ คุณความดี ผลงานของท่านล้วนเป็นสิ่งที่น่ายกย่องสรรเสริญ ที่บุคคลทั่วไปควรยึดไว้เป็นที่พึ่งและเป็นตัวอย่างที่เราควรจะจารึกไว้ให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้เลื่อมใสศรัทธา ปฏิบัติตามธรรมคำสั่งสอนของท่านจนกว่าชีวิตจะหาไม่
จากการศึกษาสำรวจเอกสารหลัก พบว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพระบาท ชื่งเชื่อมต่อกับเทือกเขาภูพานทางทิศเหนือ มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2500 ไร่ อยู่ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทาหมายเลข 2 อุดรธานีหนองคาย บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร บริวเวณทางขึ้นไปยังวัดคดเคี้ยวตามแนวลาดของภูเขา ผ่านป่าไม้และลำธารที่สวยงาม มีเพลิงหินแล้วก้อนหินธรรมชาติรูปร่างแปลกแตกต่างกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เหมือนกับเป็นรูปปั้นหรืออนุสาวรีย์ประดับประดาตามแนวเขา ก้อนหินเหล่านี้เป็นหินทรายละเอียดบนก้อนกรวดขนาดเล็กอัดกันแน่นมีสีต่างๆกัน เช่น ชมพูแดงเหลืองแสดและเทาคล้ายคลึงกับสีของผิวพื้นผิวหินของภูเขาแทบนี้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยหินทรายสีสวยสะดุดตา ก้อนหินบางแห่งมีตะไคร่น้ำจะเป็นสีเขียวและดำคล้ำ พื้นที่ของภูพระบาทเป็นป่าดิบ แล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ปกคลุมด้วยพืชพรรณธรรมชาติที่หลากหลาย กรมป่าไม้จึงได้จัดให้พื้นที่ภูพระบาทเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และกรมศิลปากรได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า จำนวน 3,430 ไร่ จัดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ระหว่างทางที่จะขึ้นไปยังวัดพระพุทธบาทบัวบก จะมีทางแยกทางขวาไปอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ซึ่งจะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่จากอุทยานให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ อารยธรรมของมนุษย์ โดยคำว่า ภูพระบาท เป็นชื่อเรียกภูเขาขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านผือ มีที่มาจากรอยพระบาทบัวบก ที่ประดิษฐานอยู่บนเขาซึ่งเป็นที่เคาระของผู้คนในแถบนี้
