ปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดพุทธบาทบัวบก
ปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดพุทธบาทบัวบกคือ “รอยพระพุทธบาท” ซึ่งมีพระธาตุเจดีย์สร้างครอบอยู่ จากหนังสือบ้านผือร่องรอยจากอดีตได้กล่าวว่า รอยพระพุทธบาทเดิมมีรูปประพันสันฐานเป็นแอ่งลึกเข้าไปในพื้นหินประมาณ 1 ศอก พื้นพระพุทธบาทมีรูปกงจักรอยู่ตรงกลางรอบๆกรงจักรมีรูปสัตว์ต่างๆ นิ้วทุกนิ้วมีความยาวเสมอกัน พระพุทธบาทมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตรยาว 2 เมตร เหลือรอยพระพุทธบาทมีสิ่งก่อสร้างคล้ายอุโมงค์ครอบอยู่ ต่อมาได้สร้างพระเจดีย์ใหม่แทนอุโมงค์เก่าแล้วโบกปูนให้พื้นภายในเสมอกัน พร้อมกันนั้นได้ยกขอบรอยพระพุทธบาทให้สูงขึ้นจากพื้นหินประมาณ 0.80 เมตร ตามแนวเดิมพระเจดีย์องค์ใหม่สร้างขึ้นตามแบบที่จำลองมาจากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยหรืออุโมงค์อิฐที่ครอบรอบพระพุทธบาทเดิมออก
ภาพรอยพระพุทธบาทเมื่อเทียบกับในอดีต
รูปประพันสัณฐานของเจดีย์ เป็นรูปดอกบัวเหลี่ยมสูงประมาณ 40 เมตรฐานกว้างยาวด้านละ 8 เมตรเจดีย์แบ่งออกเป็น 5 ชั้นซ้อนกันขึ้นไปื ด้านล่างชั้นที่ 1 และ 2 มีลวดลายปูนแกะสลักเป็นรูปซุ้มประตูและเสาต่างๆบนซุ้มประดับด้วยลวดลายดอกบัวห้าแฉก ส่วนด้านล่างมีลวดลายเครือเถา คัน สาดบางบอนประดับประดาด้วยกระจกและเหลี่ยม การตกแต่งลวดลายบนฐานเจดีย์คล้ายคลึงกับลวดลายบนฐานของพระธาตุพนมแต่ฝีมือไม่ละเอียดและงดงามเท่า ชั้นที่ 3 ตอนบนของเจดีย์มีลวดลายดอกปูนปั้นประดับกระจก ชั้นต่อไปประดับด้วยกระจกสี่เหลี่ยมไม่มีลวดลาย ชั้นบนสุดสร้างเป็นยอดแหลมคล้ายปิรามิด ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพบในอุโมงค์เก่าตอนรื้อออก ที่ยอดเจดีย์มีฉัตร 5 ชั้น ฐานเจดีย์มีกำแพงแก้วล้อมรอบ 2 ชั้น
พระอาจารย์ศรีทัตและคณะ ได้ใช้เวลาปฏิสังขรณ์บริเวณวัดและก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทเป็นเวลาประมาณ 14 ปีจึงแล้วเสร็จ ในระหว่างการดำเนินงานก็ได้ประสบปัญหาทางเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างนานาประการ วัสดุและอุปกรณ์ก็ต้องนำมาจากสถานที่ห่างไกลด้วยความยากลำบากเพราะการคมนาคมยังไม่สะดวกนะแต่ด้วยแรงศรัทธาและความอุตสาหะของคณะสงฆ์และชาวบ้านช่วยกันแก้ไขอุปสรรคต่างๆจึงทำให้การก่อสร้างดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง องค์เจดีย์เสร็จบริบูรณ์เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 11,500.54 บาท
ในบริเวณวัดพระพุทธบาทบัวบกมีพระธาตุเจดีย์ขนาดย่อมอีกองค์หนึ่งตั้งอยู่บนโขดหินมีรูปประพันสันฐานคล้ายคลึงกับพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ แต่มีลวดลายปูนปั้นแตกต่างไปเล็กน้อยเจดีย์นี้สร้างขึ้นบรรจุอัฐิอาจารย์บุญ ซึ่งเคยมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทบัวบกและชอบสถานที่นี้มาก เมื่อถึงแก่มรณภาพลูกศิษย์จึงมาสร้างธาตุบรรจุอัฐิท่านขึ้นที่นี่
บริเวณลานวัดด้านข้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่ มีเพลิงหินขนาดย่อม 2 เพลิงซึ่งถูกดัดแปลงเป็นที่เก็บพระพุทธรูปขนาดเล็กมีทั้งของเก่าของใหม่วางอยู่เรียงราย ด้านหน้าปืนแกะสลักหินเป็นรูปพระพุทธรูปนั่งเป็นแถวแต่เป็นฝีมือสมัยหลังแกะสลักไม่ละเอียดนัก ด้านหน้าของเพลิงหินที่อยู่ใกล้ฐานเจดีย์องค์ใหญ่มีเสมาหินขนาดใหญ่ปากอยู่เสมานี้เป็นรูปกลีบบัวสูงประมาณ 1.5 เมตรเดิมมีรอยจารึกด้วยอักขระโบราณ แต่ปัจจุบันลบเลือนไปจนเกือบหมด เพราะถูกขุดออกเพื่อบันทึกปีการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่คือพุทธศักราช 2467 ถึง 2473 จึงเป็นที่น่าเสียดายที่หลักฐานสำคัญอาจบอกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนสถานในบริเวณนี้สมัยก่อนปฏิสังขรณ์ถูกทำลายไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ใกล้เนินหินทั้งสองนี้มีโบสถ์ขนาดเล็กหลังหนึ่ง โบสถ์หลังนี้ต่อเติมจากโบสถ์เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งสร้างขึ้นติดกับเพลิงหินขนาดใหญ่ โดยดัดแปลงใช้ประโยชน์พื้นหินธรรมชาติเป็นกำแพงด้านหลังและหลังคาบางส่วน ที่เหลือจึงก่อกําแพงอิฐโบกปูนด้านข้างพร้อมทั้งต่อเติมหลังคาด้วยแผ่นสังกะสีหน้าจั่วมีลวดลายปูนปั้นรูปช้างประดับด้วยกระจกรอบๆ มีเสมาหินขนาดค่อนข้างเล็กตัดอยู่ตามมุมต่างๆเสมาหินส่วนมากขาดชำรุดไม่มีการแกะสลักลวดลายหรือจารึกอักขระบนแผ่นเสมาเหล่านี้
ด้านหลังของโบสถ์มีศาลาการเปรียญใหญ่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ภายในวัดมีบ่อน้ำและถังหลายใบสำหรับเก็บน้ำที่ไหลลงมาจากยอดเขาและน้ำฝนไว้ใช้บริโภคได้ตลอดปี ตามปกติชาวบ้านใกล้เคียงมากขึ้นมาทำบุญในวันพระ สำหรับงานบุญไหว้พระพุทธบาทจัดเป็นประจำทุกปีในเดือน 4 ขึ้น 13 ถึง 15 ค่ำ จะมีผู้คนขึ้นไปนมัสการจำนวนมากเป็นพิเศษ วัดพระพุทธบาทบัวบกมีภิกษุและสามเณรอยู่จำพรรษาประมาณ 4-5 รูป ในวันธรรมดาบริเวณวัดมาจะเงียบสงบนานๆทีจึงจะมีผู้คนขึ้นมานมัสการพระพุทธบาทและชมโบราณสถานศิลปะวัตถุที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
บริเวณทางเข้าไปยังพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก ซุ้มประตู
รูปแบบศิลปกรรมรอยพระพุทธบาทบัวบก
ภายในเรือนธาตุของพระธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิและพระสาวก เบื้องหน้าพระพุทธรูปประธานประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นครอบทับของเดิมที่มีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบไว้ ต่อมาพระอาจารย์ศรีทัตย์ ได้รื้อมณฑปเก่าออกและสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองครอบทับของเดิมและสร้างพระเจดีย์ขึ้นใหม่
ซุ้มเหนือกรอบประตูพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก จ.อุดรธานี เป็นงานปูนปั้นระบายสีประดับกระจก ส่วนล่างเป็นกรอบซุ้มที่เกิดจากวงโค้งหลายวงประกอบกันปลายซุ้มม้วนเข้า ประดับปูนปั้นรูปช้างเป็นประธานตรงกลางของวงโค้งด้านใน ปลายซุ้มประดับรูปสิงห์หันหน้าเข้าหากัน เหนือกรอบซุ้มประดับปูนปั้นมีพื้นหลังเป็นลายกระหนกใบไม้ม้วนระบายสีที่มีลักษณะคล้ายใบระกาหรือฝักเพกาขนาดใหญ่ ส่วนล่างของแต่ละใบประดับรูปเทพธิดาอยู่ในท่านั่งพนมมือ



